ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม นครราชสีมา ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม นครราชสีมา

Close

ข้อมูลของแหล่งศิลปกรรม

ภาพประกอบ

ลำดับที่
รายละเอียดภาพ : อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ทางด้านทิศตะวันตก

ชื่อแหล่ง

ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

ประเภทแหล่งเรียนรู้

แหล่งศิลปกรรม


ตำบล ในเมือง อำเภอ เมือง จังหวัด นครราชสีมา
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกันกับประตูชุมพล โดยประติมากรรมรูปท้าวสุรนารี สูง ๑.๘๕ เมตร ใช้โลหะหนัก ๓๒๔ กิโลกรัม เป็นรูปหล่อหญิงตัดผมทรงดอกกระทุ่ม แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทานมือขวากุมดาบปลายจดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หัวหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ประดิษฐานอยู่บนปูนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง สูง ๒.๕ เมตร นับจากพื้นฟุตบาทจนถึงไพทีมี ๓ ชั้น ฐานชั้นแรกเป็นขั้นบันได ๔ ด้าน สำหรับเดินที่ปูพื้นด้วยกระเบื้องหินอ่อนมีเสาและโคมไฟฟ้า ประดับโดยรอบ ฐานชั้นที่สองเป็นที่สักการบูชา

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ซึ่งแต่เดิมเป็นวงเวียนอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีถูกผนวกรวมเข้าเป็นบริเวณเดียวกันกับประตูชุมพลด้านทิศตะวันตกของตัวเมืองนครราชสีมา เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงและยกย่องคุณงามความดีของวีรสตรีสามัญชนกันอย่างคุ้นเคย ท่านเป็นวีรสตรีในประวัติศาสตร์ที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติบ้านเมืองจึงเป็นบุคคลที่ชาวโคราช ภาคภูมิใจและเคารพบูชา ท้าวสุรนารี หรือย่าโม กลายเป็นสัญญาลักษณ์ของชาวโคราชกระทั่งเรียกชื่อจังหวัดนี้ว่า “เมืองย่าโม” ปัจจุบันบริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีมีสถานะเป็นลานคนเมือง มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อยู่เสมอ เป็นย่านธุรกิจที่คึกคัก มีโรงแรม ร้านอาหาร ตลาดขายของที่ระลึก ไม่ว่าจะเป็นผ้าไหม หรือของกิน โดยลานสักการะอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีนี้ ในทุกๆ วันจะมีประชาชนทั้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาหรือโคราช และประชาชนที่เดินทางผ่านจังหวัดโคราช เดินทางมาสักการะท้าวสุรนารี หรือย่าโม อย่างไม่ขาดสาย โดยชาวโคราชมักจะมาบนบานศาลกล่าวขอสิ่งต่าง ๆ จากย่าโม เช่น ขอให้มีงานทำ ขอให้มีลูก เมื่อประสมประสงค์แล้วจะแก้บนด้วยสิ่งของที่กล่าวไว้โดยเฉพาะการแก้บนด้วยเพลงโคราช ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการละเล่นที่ย่าโมโปรดปราน
พระยากำธรพายัพทิส (ดิสอิทโสฬส) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราสีมา นายพันเอกพระเริงรุก ปัจจามิตร (ทอง รักสงบ) ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ ๕ พร้อมด้วยข้าราชการและประชาชนชาวนครราชสีมาได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์รูปท้าวสุรนารี ด้วยทองแดงนำอัฐิท่านมาบรรจุไว้ฐานรองรับเสร็จประดิษฐานไว้ ณ ประตูชุมพล เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๔๗๗ พ.ศ. ๒๕๑๐ ฐานอนุสาวรีย์ชำรุด ข้าราชการและประชาชนชาวนครราชสีมา มีนายสวัสดิ์วงศ์ ปฏิทัศน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ได้สร้างฐานอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารีขึ้นใหม่ ณ ที่เดิม เพื่อให้เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง และเชิดชูเกียรติท้าวสุรนารี วีรสตรีไทยตลอดกาลนาน สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๐ ปัจจุบันบริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีและประตูชุมพลถูกผนวกรวมกันโดยมีสถานะเป็นลานคนเมือง มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อยู่เสมอ เป็นย่านธุรกิจที่สำคัญของจังหวัดนครราชสีมา

ร่วมอนุรักษ์

" แหล่งศิลปกรรมท้องถิ่น "

ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม จังหวัดนครราชสีมา (นครชัยบุรินทร์)
โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สนับสนุนงบประมาณการศึกษาค้นคว้าโดย

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม