ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม นครราชสีมา ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม นครราชสีมา

Close

ข้อมูลของแหล่งศิลปกรรม

ภาพประกอบ

ลำดับที่
รายละเอียดภาพ : โบราณสถานขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐและหินทราย มีลักษณะแผนผัง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศเหนือ ประกอบด้วยปราสาทประธาน

ชื่อแหล่ง

เมืองแขก (ปราสาทหินเมืองแขก)

ประเภทแหล่งเรียนรู้

แหล่งศิลปกรรม


หมู่บ้าน กกกอก ตำบล โคราชอำเภอ สูงเนิน จังหวัด นครราชสีมา
ชื่อหมู่บ้านเปลี่ยนจากบ้านกุดหิน เป็น บ้านกกกอก

ปราสาทหินเมืองแขกเป็นปราสาทขอมที่มีขนาดใหญ่ ศิลปะเขมรแบบเกาะแกร์ ซึ่งเป็นยุคสมัยเดียวกับปราสาทโนนกู่ที่ห่างออกไปราว ๕๐๐เมตร ปราสาทหินเมืองแขกก่อด้วยอิฐปนหินทรายแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ โดยทางด้านเหนือมีซากอาคาร ๒ หลังตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของปราสาท สร้างด้วยศิลาแลงและหินทรายสร้างหันหน้าเข้าหากัน เมื่อเข้าสู่ตัวปราสาทมีซุ้มประตูทางเข้าหรือโคปุระ เป็นทางเดินเชื่อมไปยังด้านใน ซึ่งมีซากฐานปราสาท ๓ หลัง ตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวกัน โดยหันหน้าไปทางทิศเหนือ ปัจจุบันปรางค์ประธานอยู่ในสภาพพังทลายเหลือเพียงฐาน นากจากนี้ยังพบบรรณาลัย ก่อด้วยอิฐและหินทราย ตั้งอยู่ห่างจากปรางค์ประธานไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๓.๙๐ เมตร อยู่ในสภาพพังทลายเหลือเพียงฐาน นอกจากนี้บริเวณโดยรอบปราสาทยังมีคูน้ำซึ่งเป็นบารายล้อมรอบอีกด้วย ส่วนแนวกำแพงชั้นนอกถูกถับถมกลายเป็นคูน้ำคันดิน
โบราณสถานแห่งนี้มีลักษณะเป็นศาสนสถานขอมที่เหลือเพียงฐานก่อด้วยอิฐ และมีกรอบประตูหินทรายกรอบประตูด้านทิศใต้มีลักษณะที่ผิดกว่าช่องประตูอื่นเนื่องจากไม่เคยมีบานไม้เปิดปิดได้ด้านใต้ของตัวปรางค์เป็นส่วนของห้องที่ยาวยื่นออกไปทางทิศใต้โดยไม่มีบันไดขึ้นลงโบราณสถานแห่งนี้หันหน้าไปทางทิศเหนือ ซึ่งไม่เคยปรากฏอยู่ในแบบแผนของสถาปัตยกรรมที่เป็นศาสนสถานขอม ถัดออกมาเป็นแนวสระน้ำขนาบทั้ง ๒ ข้างปรางค์ประธานโดยมีครกซึ่งมีลักษณะที่ต้องใช้ครกสำริดฝังรองไว้ชั้นหนึ่งก่อนสำหรับฝังเดือยไม้ด้านทิศตะวันตกของปรางค์ประธานมีฐานของอาคารคล้ายศาลาโถงแผนผังปรางค์ประธานโบราณสถานแห่งนี้มีความคล้ายคลึงกันมากกับปรางค์ประธานของปราสาทหินพิมาย จึงใช้อายุของปราสาทหินพิมายเป็นตัวกำหนดอายุได้ ปัจจุบันนี้หลักฐานทางโบราณคดีที่ได้หลงเหลืออยู่ในโบราณสถานแห่งนี้ ส่วนใหญ่จะเหลือเป็นซากอาคาร ฐานอาคาร เสา กรอบประตู คูน้ำคันดิน โคปุระ กำแพงแก้ว และซากอาคารด้านหน้าปรางค์ประธาน ๒ หลังอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จาการไปสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๘ ซึ่งหลักฐานที่พบส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก เพราะได้รับการดูแลจากทางหน่วยงานที่รับผิดชอบ

ร่วมอนุรักษ์

" แหล่งศิลปกรรมท้องถิ่น "

ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม จังหวัดนครราชสีมา (นครชัยบุรินทร์)
โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สนับสนุนงบประมาณการศึกษาค้นคว้าโดย

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม