ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม นครราชสีมา ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม นครราชสีมา

Close

ข้อมูลของแหล่งศิลปกรรม

ภาพประกอบ

ลำดับที่
รายละเอียดภาพ : ปรางค์ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก

ชื่อแหล่ง

ปรางค์บ้านพะโค

ประเภทแหล่งเรียนรู้

แหล่งศิลปกรรม


หมู่บ้าน พะโค ตำบล กระโทก อำเภอ โชคชัย จังหวัด นครราชสีมา
หมายเหตุ : -

สภาพปัจจุบันของปรางค์พะโค ประกอบด้วยโบราณสำคัญ คือ ปราสาทประธานและปราสาทด้านทิศเหนือของปราสาทประธาน ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยทางเดินเหนือพื้นดินที่สร้างด้วยอิฐ ทั้งหมดล้อมรอบด้วยคูน้ำที่เชื่อมต่อกัน ๓ ด้าน คือด้านทิศเหนือ ด้านทิศใต้และด้านทิศตะวันตก ทั้งหมดได้รับการขุดแต่งศึกษาและบูรณะ รวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์และดูแลบำรุงรักษามาเป็นอย่างดี สภาพพื้นดินโดยรอบอยู่ในสภาพเรียบทั่วกัน มีต้นไม้ขนาดกลางขึ้นปกคลุมอยู่โดยรอบ ส่วนสระน้ำก็อยู่ในสภาพดี มีน้ำเก็บกักไว้ใช้เกือบเต็มความจุ ปราสาทประธาน ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางของพื้นที่โบราณสถาน ได้รับการบูรณะแล้ว รูปแบบการก่อสร้าง มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคงเหลือหลักฐานส่วนฐานล่างเป็นฐานสูงที่สร้างด้วยหินแลง อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์สมบูรณ์ เหนือขึ้นไปเป็นชั้นเรือนธาตุที่สร้างด้วยหินทรายและบางส่วนเป็นอิฐ คงเหลือหลักฐานส่วนฐานของเรือนธาตุและกรอบประตูติดตั้งอยู่เพียงสองด้าน คือประตูทางเข้าหลักด้านทิศตะวันออกและส่วนประตูหลอกด้านทิศเหนือ ส่วนบนของปราสาททั้งหมดได้พังทลายลงหมดแล้ว ปราสาทด้านทิศเหนือของปราสาทประธาน ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของปราสาทประธาน มีขนาดเล็กกว่าปราสาทประธานเล็กน้อย ได้รับการบูรณะแล้ว รูปแบบการก่อสร้าง มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคงเหลือหลักฐานส่วนฐานล่างเป็นฐานสูงที่สร้างด้วยหินแลง ซึ่งมีความสูงน้อยกว่าปราสาทประธาน อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์สมบูรณ์ เหนือขึ้นไปเป็นชั้นเรือนธาตุที่สร้างด้วยหินทรายและบางส่วนเป็นอิฐ คงเหลือหลักฐานส่วนฐานของเรือนธาตุและกรอบประตูติดตั้งอยู่ครบทุกด้าน ประตูทางเข้าหลักของปราสาทหันด้านหน้าไปทางทิศใต้ ซึ่งสภาพปัจจุบันปรากฏรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ครบถ้วน ทั้งส่วนกรอบประตู เสาประดับกรอบประตูและส่วนทับหลัง ส่วนด้านทิศตะวันออกด้านทิศตะวันตกและด้านทิศเหนือ เป็นประตูหลอก นอกจากนี้บริเวณห้องมุขด้านหน้าของปราสาทยังปรากฏหลักฐานส่วนกรอบหน้าต่างของห้องมุขด้วย ส่วนบนของปราสาทส่วนมากได้พังทลายลงหมดแล้ว คงเหลือหลักฐานให้เห็นเพียงเล็กน้อย ภายในพื้นที่โบราณสถาน บริเวณด้านข้างใกล้กับสระน้ำโดยรอบ ได้จัดเก็บหินที่ใช้ในการก่อสร้างโบราณสถาน ซึ่งได้พบในระหว่างการขุดแต่งและเป็นหินส่วนที่เหลือจากการทำงานบูรณะ ส่วนใหญ่เป็นหินทรายสีขาว มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ เป็นหินที่พิจารณาว่าน่าจะเป็นหินที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาททั้งสองหลัง มีทั้งหินส่วนฐาน ส่วนเรือนธาตุ ส่วนบนและส่วนยอดของปราสาท หินบางส่วนยังปรากฏการสลักลวดลายที่ชัดเจน แต่บางส่วนก็มีการลบเลือนและแตกหักหายไปบ้าง หินบางส่วนอยู่ในสภาพสมบูรณ์และอีกจำนวนมากที่มีร่องรอยการสึกกร่อน ผิวและขอบของหินมีการกะเทาะหลุดร่วงออก บางก้อนแตกหักชำรุดหลุดออกเป็นหลายชิ้นส่วน ซึ่งการจัดเก็บไม่ได้จัดระเบียบหรือจัดหมวดหมู่ของหินโบราณสถานไว้ชัดเจนมากนัก อีกทั้งเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่เขียนกำกับไว้บนหินก็ลบเลือนไปหมดแล้ว
การดำเนินงานขุดแต่งศึกษาและบูรณะโบราณสถานปรางค์พะโคในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยหน่วยศิลปากรที่ ๖ นครราชสีมา (ปัจจุบันคือสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา) ทำให้ได้ข้อมูลและหลักฐานสำคัญหลายประการเกี่ยวกับปรางค์พะโค ทั้งทางด้านลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ปรากฏพบหลังการขุดแต่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบศิลปะเขมร แบบบาปวน อายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ หลักฐานโบราณวัตถุที่สำคัญหลายชิ้นที่พบจากการขุดแต่งปราสาทประธาน เช่น แผ่นทองคำ แผ่นเงิน แผ่นสำริด และหินกึ่งมีค่า ประเภทพลอย หินควอทซ์ ซึ่งปัจจุบันได้จัดแสดงไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา นอกเหนือจากโบราณวัตถุแล้ว ยังมีชิ้นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมที่พบภายในโบราณสถานระหว่างการขุดแต่งอีกจำนวนมาก ซึ่งบางส่วนได้ขนย้ายไปจัดเก็บไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ จังหวัดนครราชสีมา และบางส่วนขนย้ายไปจัดเก็บไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๘จึงได้มีการขนย้ายจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ จังหวัดนครราชสีมา มาจัดเก็บและบางส่วนนำมาจัดแสดงไว้ในอาคารจัดแสดงกลางแจ้ง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ภายในพื้นที่โบราณสถานปัจจุบัน บริเวณด้านข้างใกล้กับสระน้ำโดยรอบ ได้จัดเก็บหินที่ใช้ในการก่อสร้างโบราณสถาน ซึ่งได้พบในระหว่างการขุดแต่งและเป็นหินส่วนที่เหลือจากการทำงานบูรณะ ส่วนใหญ่เป็นหินทรายสีขาว มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ เป็นหินที่พิจารณาว่าน่าจะเป็นหินที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาททั้งสองหลัง มีทั้งหินส่วนฐาน ส่วนเรือนธาตุ ส่วนบนและส่วนยอดของปราสาท หินบางส่วนยังปรากฏการสลักลวดลายที่ชัดเจน แต่บางส่วนก็มีการลบเลือนและแตกหักหายไปบ้าง หินบางส่วนอยู่ในสภาพสมบูรณ์และอีกจำนวนมากที่มีร่องรอยการสึกกร่อน ผิวและขอบของหินมีการกะเทาะหลุดร่วงออก บางก้อนแตกหักชำรุดหลุดออกเป็นหลายชิ้นส่วน ซึ่งการจัดเก็บไม่ได้จัดระเบียบหรือจัดหมวดหมู่ของหินโบราณสถานไว้ชัดเจนมากนัก อีกทั้งเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่เขียนกำกับไว้บนหินก็ลบเลือนไปหมดแล้ว ดังนั้นในการดำเนินงานทดลองประกอบหิน จึงต้องกระจายหินทั้งหมดออกและได้พิจารณาตรวจสอบสภาพของหินรวมทั้งลวดลายที่สลักบนหินให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งไป พร้อมๆกัน

ร่วมอนุรักษ์

" แหล่งศิลปกรรมท้องถิ่น "

ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม จังหวัดนครราชสีมา (นครชัยบุรินทร์)
โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สนับสนุนงบประมาณการศึกษาค้นคว้าโดย

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม