ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม นครราชสีมา ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม นครราชสีมา

Close

ข้อมูลของแหล่งศิลปกรรม

ภาพประกอบ

ลำดับที่
รายละเอียดภาพ : ปราสาทประธาน ปรางค์สระเพลง

ชื่อแหล่ง

ปรางค์สระเพลง

ประเภทแหล่งเรียนรู้

แหล่งศิลปกรรม


หมู่บ้าน กระโทก ตำบล กระโทกอำเภอ โชคชัย จังหวัด นครราชสีมา
หมายเหตุ : -

ปรางค์สระเพลงมีสภาพถูกทิ้งร้างและทรุดโทรมลงอย่างมาก ผนังของปรางค์ด้านทิศตะวันตกที่เหลืออยู่เพียงด้านเดียวทางกรมศิลปากรได้ใช้เหล็กในการค้ำยันไว้เพื่อป้องการพังทลายลงมา บริเวณโดยรอบปรางค์สระเพลงมีชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมบางส่วนก็ฝังอยู่ในดิน บางส่วนก็กระจัดกระจายอยู่ตามจุดต่าง ๆ นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียงยังพบบารายขนาดเล็ก ส่วนบารายขนาดใหญ่ถัดจากตัวปรางค์ไปอีกยังคงมีน้ำอยู่ แต่มีต้นไม้ ต้นหญ้าขึ้นรก จนแทบจะไม่เห็นบารายเลย
ปรางค์สระเพลงเป็นศาสนาสถานของซึ่งสร้างด้วยศิลาแดง โดยมีกรอบประตูและเครื่องประดับอื่นๆ ทำด้วยหินทราย หันไปทางด้านทิศตะวันออก สภาพที่เหลือชำรุดมากเหลือเพียงผนังด้านทิศเหนือที่ทำให้ทราบลักษณะของปรางค์ได้ชัดเพียงด้านเดียว ส่วนผนังด้านอื่นอีก ๓ด้านชำรุดพังหมดแล้ว ส่วนประดับอื่นๆ ก็ได้ถูกเคลื่อนย้ายไปหมด เพราะตั้งอยู่ใกล้กับถนนสายโชคชัย-เดชอุดม ทางฟากทิศใต้ประมาณ ๕๐๐ เมตร แม้ศาสนาสถาน คือ บรรณาลัย กำแพงแก้วพร้อมด้วยโคปุระหรือซุ้มประตูก็ตาม แต่สระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดเล็กก็ได้รับการขุดลงในตำแหน่งเดิมตามแบบแผน คือทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวปรางค์ และร่องรอยอื่นๆ ในบริเวณนั้น ที่ได้แสดงถึงการตั้งชุมชนเดิมซึ่งมีอยู่แล้ว คือสระน้ำขนาดใหญ่ หรือบุรายที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของโบราณสถานนั้น จะพบอยู่ทั่วไปควบคู่กับแหล่งที่เป็นชุมชนโบราณสมัยขอมสามารถกำหนดอายุโบราณสถานแห่งนี้ จากการสังเกตรอยบากหินเข้ากรอบประตูเท่านั้นว่า ได้แสดงลักษณะที่เด่นชัดของการเข้ากรอบประตูหินตามลักษณะการก่อสร้างของขอม ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในปัจจุบัน สภาพของปรางค์สระเพลงทรุดโทรมลงไปมาก ผนังของปรางค์ด้านทิศตะวันตกที่เหลืออยู่เพียงด้านเดียวทางกรมศิลปากรได้ใช้เหล็กในการค้ำยันไว้เพื่อป้องการพังทลายลงมา แต่อย่างไรก็ตามปรางค์สระเพลงแห่งนี้ก็ได้รับการปรับสภาพพื้นที่โดยรอบให้เหมาะแก่การศึกษาเรียนรู้และการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อีกด้วย

ร่วมอนุรักษ์

" แหล่งศิลปกรรมท้องถิ่น "

ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม จังหวัดนครราชสีมา (นครชัยบุรินทร์)
โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สนับสนุนงบประมาณการศึกษาค้นคว้าโดย

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม