ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม นครราชสีมา ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม นครราชสีมา

Close

ข้อมูลของแหล่งศิลปกรรม

ภาพประกอบ

ลำดับที่
รายละเอียดภาพ : กองศิลาแลงชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม ทางทิศตะวันตกของปราสาทนางรำ

ชื่อแหล่ง

ปราสาทนางรำ

ประเภทแหล่งเรียนรู้

แหล่งศิลปกรรม


หมู่บ้าน นางรำ ตำบล นางรำ อำเภอ ประทาย จังหวัด นครราชสีมา
บูรณะโดยการค้ำยัน กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะด้วยวิธีค้ำยัน

ปราสาทนางรำ ตั้งอยู่ที่บ้านนางรำ ตำบลนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นโบราณสถานสมัยขอมที่เรียกว่าเป็น อโรคยาศาล (โรงพยาบาล) สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถาน ๒ กลุ่ม ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน กลุ่มที่ ๑ คือ ปราสาทนางรำ มีลักษณะของปรางค์ที่สมบูรณ์กว่าหลังอื่น ประกอบด้วยปรางค์ประธาน มีมุขยื่นออกไปด้านหน้าทางทิศตะวันออก ส่วนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทมีบรรณาลัยก่อด้วยศิลาแลงหันหน้าเข้าหาตัวปราสาทประธาน มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ ส่วนซุ้มโคปุระหรือประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ส่วนบริเวณนอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลงและมีทางระบายน้ำทางด้านหน้าของทางเข้าปราสาทนางรำ กลุ่มที่ ๒ ถัดจากปราสาทนางรำไปยังทางด้านทิศใต้ เป็นที่ตั้งของ กู่พราหมณ์จำศีล มีปราสาท ๓ หลังเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ ซึ่งเหลือเพียงฐานและมีกรอบประตูและทับหลังหินทรายตั้งแสดงอยู่ มีกำแพงศิลาแลงและคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบ
ตั้งอยู่ที่บ้านนางรำ ตำบลนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันเหลือแต่ร่องรอยของเทวสถานและแท่นหิน ปราสาทนางรำเป็นโบราณสถานสมัยขอมที่เรียกว่าเป็น อโรคยาศาล (โรงพยาบาล) สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถาน ๒ กลุ่ม ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน ปัจจุบันปราสาทนางรำและกู่พราหมณ์จำศีล ได้รับการบูรณะและดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่เกือบจะสมบูรณ์ อีกทั้งยังมีการปรับสภาพพื้นที่โดยรอบให้เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

ร่วมอนุรักษ์

" แหล่งศิลปกรรมท้องถิ่น "

ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม จังหวัดนครราชสีมา (นครชัยบุรินทร์)
โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สนับสนุนงบประมาณการศึกษาค้นคว้าโดย

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม