ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม นครราชสีมา ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม นครราชสีมา

Close

ข้อมูลของแหล่งศิลปกรรม

ภาพประกอบ

ลำดับที่
รายละเอียดภาพ : ด้านทิศเหนือของวัดบน ตำบลพุดซา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ชื่อแหล่ง

วัดบน

ประเภทแหล่งเรียนรู้

แหล่งศิลปกรรม


หมู่บ้าน พุทรา ตำบล พุทรา อำเภอ เมือง จังหวัด นครราชสีมา
๑. เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านจาก บ้านพุทรา เป็นบ้านพุดซา ๒. เปลี่ยนชื่อตำบล จาก ตำบลพุทรา เป็น ตำบลพุดซา ๓. ไม่พบประวัติการศึกษา (รายงานการขุดค้น / ขุดแต่ง)

วัดบน ตั้งอยู่ในหมู่บ้านพุดซา หมู่ที่ ๒ ตำบลพุดซา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโรงเรียนบ้านพุดซา ทิศใต้ติดกับถนนที่ใช้สัญจรในหมู่บ้านส่วนทางทิศเหนือและทางทิศตะวันออกติดกับบ้านเรือนของชาวบ้าน วัดบนเป็นศาสนสถานเก่าแก่ที่เหลือเพียงเนินดิน พบฐานรากอาคารที่ก่อสร้างด้วยศิลาแลง ศิลาทรายและอิฐ และพบชิ้นส่วนของอาคารพังทลายลงอยู่บริเวณโดยรอบโบราณสถาน ไม่พบทับหลังศิลาทรายจำหลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาคและใบเสมา เนื่องจากถูกเคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาไว้ที่วัดปรางค์ทอง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดบน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเคลื่อนย้ายไปเมื่อปีพุทธศักราชใด ทับหลังมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ แต่บริเวณรอบๆของทับหลังลวดลายจางลง รวมถึงมีการปิดทองที่ทับหลังด้วย ปัจจุบันวัดบน ไม่ได้รับการบูรณะจากกรมศิลปกร จึงมีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก รวมถึงไม่ได้รับการดูแลจากชาวบ้านและชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง มีการกำหนดเขตโบราณสถานด้วยรั้วลวดหนามโดยกรมศิลปกร ไม่พบว่ามีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พบเพียงการตั้งศาล การเซ่นไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอโชคลาภ และมีการใช้ลานบริเวณด้านข้างฝั่งทิศเหนือของซากโบราณสถานเป็นลานอเนกประสงค์ของหมู่บ้าน ส่วนสระน้ำที่อยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกของวัดบน อยู่นอกเขตรั้วลวดหนามของกรมศิลปกร ไม่ได้รับการดูแล มีต้นไม้และวัชพืชปกคลุมอยู่เต็มบริเวณและมีสภาพถูกทิ้งร้าง
วัดบน ตั้งอยู่ที่บ้านพุดซา ตำบลพุดซา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ไม่ปรากฏประวัติการศึกษาขุดค้นและขุดแต่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโรงเรียนบ้านพุดซา ทิศใต้ติดกับถนนที่ใช้สัญจรในหมู่บ้าน ส่วนทางทิศเหนือและทางทิศตะวันออกติดกับบ้านเรือนของชาวบ้าน วัดบนเป็นซากโบราณสถานที่มีลักษณะเป็นศาสนสถานขอมที่เหลือเพียงสภาพเนินดินกว้าง แต่ยังสามารถมองเห็นแนวศิลาแลง ศิลาทราย และอิฐที่ก่อเป็นโบราณสถานได้บางส่วน รวมถึงพบชิ้นส่วนของอาคารที่พังทลายอยู่บริเวณโดยรอบของโบราณสถานวัดบนเป็นศาสนสถานศิลปะขอมแบบบาแค็ง สร้างขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ซึ่งกำหนดอายุโบราณสถานได้จากทับหลังศิลาทรายจำหลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค ซึ่งปัจจุบันทับหลังได้ถูกเคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาที่ วัดปรางค์ทอง ตำบลพุดซา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันวัดบน ไม่ได้รับการบูรณะ จึงมีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก รวมถึงไม่ได้รับการดูแลจากชาวบ้านและชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง มีการกำหนดเขตโบราณสถานด้วยรั้วลวดหนามโดยกรมศิลปกร ไม่พบว่ามีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พบเพียงการตั้งศาล การเซ่นไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอโชคลาภ และมีการใช้ลานบริเวณด้านข้างฝั่งทิศเหนือของซากโบราณสถานเป็นลานอเนกประสงค์ของหมู่บ้าน ส่วนสระน้ำที่อยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกของวัดบน มีสภาพถูกทิ้งร้าง มีต้นไม้และวัชพืชปกคลุมอยู่เต็มบริเวณไม่มีการดูแลแต่อย่างใด

ร่วมอนุรักษ์

" แหล่งศิลปกรรมท้องถิ่น "

ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม จังหวัดนครราชสีมา (นครชัยบุรินทร์)
โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สนับสนุนงบประมาณการศึกษาค้นคว้าโดย

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม