ผู้อำนวยการสำนักศิลปะฯ ม.ราชภัฏนครราชสีมา โชว์ศักยภาพระดับชาติ ร่วมอภิปรายในการประชุมวิชาการทางวัฒนธรรมแห่งชาติ วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๕ ผศ.เรขา อินทรกำแหง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้รับเชิญในการอภิปราย "พลังนาฏศิลป์" ในการประชุมวิชาการทางวัฒนธรรมแห่งชาติ “วิจัยวัฒนธรรม ครั้งที่ ๑๒“พลังวัฒนธรรมในยุคสังคมดิจิทัล” ในหัวข้อ การแสดงเพลงโคราช : การปรับตัวตามพลวัตของสังคมในยุคดิจิทัล ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม โดยการประชุมวิชาการทางวัฒนธรรม ครั้งนี้ ประกอบด้วย การปาฐกถาโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรมและนำเสนอผลงานวิจัยทางวัฒนธรรม อาทิ การบรรยายพิเศษ เรื่อง พลวัตพลังวัฒนธรรมในสื่อสมัยใหม่ โดย ศ.กิตติคุณสุรพล วิรุฬห์รักษ์ การอภิปรายพิเศษ เรื่อง การประยุกต์โนรา พลังสร้างสรรค์จากแดนใต้สู่สากล โดย ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ และนางสุมณฑา ฆังคะรัตน์ และรับชม การแสดงทางวัฒนธรรมชุด "โนราบิก” โดย กลุ่มออกกำลังกายหัวหาด วัดท่าแค จังหวัดพัทลุง จากนั้นเป็นการอภิปรายภายใต้หัวเรื่อง "พลังโภชนศิลป์” ต่อด้วยหัวข้อ "พลังหัตถศิลป์” "พลังสังคีตศิลป์” และ "พลังนาฏศิลป์” เป็นต้น . #เพลงโคราช

💥💥ขอเชิญชวนรับชมการไลฟ์สด การประชุมวิชาการทางวัฒนธรรมแห่งชาติ "วิจัยวัฒนธรรม ครั้งที่ 12" พลังวัฒนธรรมในยุคสังคมดิจิทัล
⏰วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2565
🌟เวลา 14:10 - 15:00 น. พบกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ องอาจ อินทนิเวศ
การอภิปรายภายใต้หัวเรื่อง "พลังสังคีตศิลป์" "ขับลื้อ : พลังแห่งการขับเคลื่อนและการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมในสังคมยุคดิจิทัล"
🌟เวลา 15:00 - 15:50 น. พบกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรขา อินทรกำแหง
การอภิปรายภายใต้หัวเรื่อง "พลังนาฏศิลป์" "การแสดงเพลงโคราช : การปรับตัวตามพลวัติของสังคม ในยุคดิจิทัล"
🌟เวลา 15:50 - 17:00 น. พบกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมตตา ปิ่นทอง
การอภิปรายภายใต้หัวเรื่อง "พลังนาฏศิลป์" "มวยไทย" การออกกำลังกายเพื่อส่งสริมสุขภาพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย
#กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

📌 “สายแนนลำตะคอง” ชวดแชมป์ 3 สมัย คว้ารางวัลรองชนะเลิศ การประกวดดนตรีพื้นบ้านวงโปงลางชิงถ้วยพระราชทานฯ
. 📌 วงโปงลางสายแนนลำตะคอง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา คว้ารางวัล รองชนะเลิศ อันดับ 1 การประกวดดนตรีพื้นบ้านวงโปงลางชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 รอบชิงชนะเลิศ ในงานมหกรรมภูมิปัญญานันทนาการท้องถิ่นอีสาน ได้รับถ้วยรางวัลจากกรมพละศึกษา และเงินรางวัล 60,000 บาท พร้อมรางวัลการแสดงวิถีชีวิตถิ่นอีสานดีเด่น ได้รับถ้วยรางวัล และเงินรางวัล 3,000 บาท , รางวัลกั๊บแก๊บดีเด่น ได้รับถ้วยรางวัล และเงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมกันนี้ยังได้รับทุนส่งเสริมระดับความสามารถ รุ่นอายุไม่เกิน 25 ปี ระดับเหรียญทอง จำนวน 30,000 บาท

. 📌 การประกวดดนตรีพื้นบ้านวงโปงลางชิงถ้วยพระราชทาน ฯ ในครั้งนี้ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล โคราช ซึ่งมีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นำโดย ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดี และ รศ.ดร.วิเชียร ฝอยพิกุล อดีตอธิการบดี คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ร่วมให้กำลังใจอย่างเนืองแน่น ซึ่งการแสดงที่นำไปประกวดครั้งนี้ประกอบด้วย ชุดการแสดงชุด หิมเวศเขตอีสาณสุขสราญใต้ร่มพระบารมี ,การแสดงเปิดวง ส่งนางไห, การเดี่ยวเครื่องดนตรี แคน ลายสุดสะแนน โปงลาง ลายกาเต้นก้อนพิณ ลายปู่ป๋าหลาน โหวด ลายสาวน้อยหยิกแม่ ซออีสาน ลายหงส์ทองคะนองลำ , การเพลงลูกทุ่งเพลง เที่ยวเมืองโคราช , การแสดงวิถีชีวิตท้องถิ่นอีสาน คั่วหมี่บ้านตะคุ และเพลงลา .

📌 วงโปงลางสายแนนลำตะคองประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 35 คน เป็นนักศึกษจาก13 สาขาวิชา 4 คณะ บูรณาการทำงานร่วมกันทำงานด้านต่างๆ การแสดงบูรณาการร่วมกับหลักสูตรนาฏศิลป์ ด้านฉากและอุปกรณ์การแสดงบูรณาการร่วมกับหลักสูตรศิปศึกษา และได้ทีมงานสตาฟจากสโมสรนักศึกษาคณะครุศาสตร์ และรุ่นพี่ที่สำเร็จการศึกษาเข้ามาช่วย โดยมี วิทยากรทางการดนตรีคือ นายสุทธิพงษ์ นามประสพ และผู้วางแนวคิดในการแสดง คือ นายอดิศักดิ์ แสงจันทร์ดี อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายในเครือข่ายภายนอกอย่างเต็มกำลัง

#koratdaily
#โคราชคนอีสาน ดูน้อยลง
เชียร์ให้สุดใจ เชียร์ให้สายแนนลำตะคองคว้าแชมป์อีกครั้ง ในการประกวดวงโปงลางชิงถ้วยพระราชทานฯ . วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2565 เริ่มเวลา 14.00 น. ณ โคราชฮอลล์ ชั้น 4 ศูนย์การค้า เซ็นทรัลโคราช
วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ผศ.เรขา อินทรกำแหง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กับ พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ ณ องประชุมดร.เศาวนิต เศาณานนท์ อาคาร 9 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยมี ผศ.ดร. อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดี ลงนามร่วมกับ นายสุทธพงษ์ สุริยะ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ
การลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและด้านศิลปวัฒนธรรม ขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการท่องเที่ยว ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้แนวทาง SDGS และ Soft Power เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน สืบสานศิลปวัฒนธรรมและสร้างสรรค์คุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล ซึ่งจะก่อเกิดประโยชน์ต่อ มหาวิทยาลัย และท้องถิ่นต่อไป
หลังจากนั้นคณะผู้บริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้นำคณะผู้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา และ เรือนโคราช สำนักศิลปะและวัฒนธรรมอีกด้วย