top
 
 
       
งานประกันคุณภาพ  
ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ  
 
ประวัติความเป็นมา  
 
 
 
คณะกรรมการบริหาร  
บุคลากรประจำสำนักงาน  
 
รายงานประเมินตนเองปี 2554  
 
รายงานประเมินตนเองปี 2555  
 
รายงานประเมินตนเองปี 2556  
 
CHE QA Online 2555  
 
CHE QA Online 2556  
 
การจัดการความรู้ ปี 2555  
 
การจัดการความรู้ ปี 2556  
 
เว็บไซต์สำนักศิลปะและวัฒนธรรม  
       

 

 

 

 

 

 



งานประกันการศึกษาสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมปีการศึกษา

ประจำปี 2555

องค์ประกอบที่  7  การบริหารและการจัดการ

 

ตัวบ่งชี้ที่  7.1  ภาวะผู้นำของสภาสถาบันและผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน (สกอ.7.1)

ผู้กำกับดูแลตัวบ่งชี้ : นางวิลาวัลย์   วัชระเกียรติศักดิ์

โทรศัพท์ :  0897227734

ผู้จัดเก็บข้อมูล :  นายธนัช  แววฉิมพลีสกุล

โทรศัพท์ :  0846072551

เกณฑ์การประเมิน


คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน 5

มีการดำเนินการ
1 ข้อ

มีการดำเนินการ
2 หรือ 3 ข้อ

มีการดำเนินการ      4 หรือ 5 ข้อ

มีการดำเนินการ
6 ข้อ

มีการดำเนินการ      7 ข้อ

ผลการประเมินตนเอง


เป้าหมายการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

คะแนนการประเมิน

ผลการประเมินตนเองเทียบกับ            ค่าเป้าหมาย

6

7

5

บรรลุ

ข้อ

เกณฑ์มาตรฐาน

ผลการดำเนินงาน

หลักฐาน

1.

สภาสถาบันปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฏหมายกำหนดครบถ้วนและมีการประเมินตนเองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดล่วงหน้า

สำนักฯ ได้มีการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดครบถ้วน จากพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ถึงพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญา ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา การให้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริหารทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (มาตรา 7) และ มาตรา 8 การดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 ให้กำหนดภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะข้อ (3) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึก และภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ (7.1-1)
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2548 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548 ให้สำนักศิลปวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีหน้าที่ในการทำนุ บำรุงมรดกทางวัฒนธรรม และจากประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พ.ศ. 2549 ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และมติสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 3/2550 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2550 ให้มีการแบ่งส่วนหน่วยงานสำนักผู้อำนวยการ และกลุ่มงาน 2 กลุ่มคือ กลุ่มงานหอวัฒนธรรมและหอศิลป์ และกลุ่มงานวิชาการวัฒนธรรม (สวธ. 7.1-2)
โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้กำหนดบทบาท หน้าที่ของผู้บริหารในสถาบัน สำนัก และศูนย์ ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ให้มีผู้อำนวยการ หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้น และจะให้มีรองผู้อำนวยการ รองหัวหน้าส่วนราชการหรือรองหัวหน้าหน่วยงานนั้นๆ คนหนึ่ง หรือหลายคนเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามที่ผู้อำนวยการ หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานนั้นมอบหมายก็ได้ (สวธ. 7.1-3)
โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาได้มีการกำหนด ปรัชญา พันธกิจ และวิสัยน์ รวมถึงบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้บริหารในหน่วยงาน อย่างชัดเจนตามโครงสร้างการแบ่งส่วนหน่วยงานในสำนักศิลปะและวัฒนธรรมฯ ไว้ล่วงหน้า (สวธ. 7.1-2 : บทบาทความรับผิดชอบ และโครงสร้างการแบ่งส่วนหน่วยงาน)
เพื่อให้การดำเนินงานตามบทบาทความรับผิดชอบของผู้บริหารหน่วยงาน ผู้อำนวยการสำนักฯ ในฐานะผู้บริหารได้มีการประเมินตนเอง ตามบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบตามแบบประเมินตนเองของผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (7.1-4)

สวธ. 7.1-1

 

 

สวธ. 7.1-2

 

 

สวธ. 7.1-3

 

 

สวธ. 7.1-4

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 จากเอกสารรวบรวมข้อบังคับ ระเบียบ ที่สภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาได้ออกบังคับใช้

 

แผนยุทธศาสตร์สำนักศิลปะและวัฒนธรรม 2552-2556

 

 

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 พระราชกฤษฎีกา มาตรา 41, 42 และ 43

 

แบบประเมินตนเองของผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม

2

ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ กำหนดทิศทางการดำเนินงาน และสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ มีความสามารถในการวางแผนกลยุทธ์ มีการนำข้อมูลสารสนเทศเป็นฐานในการปฏิบัติงานและพัฒนาสถาบัน

ผู้บริหารมีการนำข้อมูล รวมถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (กบ.) ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสำนักฯ มาถ่ายทอดให้กับบุคลากรทุกระดับในสำนักฯ เพื่อให้เกิดแนวทางการดำเนินงานที่มีความสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย และกำหนดทิศทางในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ (สวธ. 7.1-5) และ (สวธ. 7.1-6)
ในการดำเนินงานของสำนักฯ ผู้บริหารได้ใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นฐานในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 1) ข้อมูลสารสนเทศด้านการบริหาร 2) ข้อมูลสารสนเทศด้านบุคลากร 3) ข้อมูลสารสนเทศด้านวิชาการและการวิจัย 4) ข้อมูลสารสนเทศด้านงบประมาณ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้จัดทำฐานข้อมูลต่างๆ เพื่อรองรับการบริหารจัดการไว้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการใช้ระบบฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และกำหนดกิจกรรมในการดำเนินงานของสำนักฯ ในมิติอื่นๆ เช่น การดำเนินงานตามโครงการเตรียมความพร้อมชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อรองรับการดำเนินการศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น สมัยก่อนประวัติศาสตร์แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา (สวธ. 7.1-7)
โดยมีการใช้ฐานข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ดังนี้

  1. ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ จากฐานข้อมูลจากฐานข้อมูลศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)  เว็บไซต์ www.sac.or.th/main/learning?php?_ learning_id=3Scategory_id=15
  2. ข้อมูลด้านชาติพันธุ์และมนุษย์วิทยา จากฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ (thai and southeast Asia Ethnic Groups Research Database) เว็บไซต์ www.sac.or.th/ Database / Ethnicredb /
  3. ข้อมูลด้านพิพิธภัณฑ์ จากฐานข้อมูล  จากฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศ : Thai Museums Database เว็บไซต์ www.sac.or.th/ Database / Museums Database/

สวธ. 7.1-5

สวธ. 7.1-6

สวธ. 7.1-7

รายงานการประชุมสำนักศิลปะและวัฒนธรรม วันที่ 8 มกราคม 2556
รายงานการประชุมสำนักศิลปะและวัฒนธรรม วันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2556
รายงาน โครงการเตรียมความพร้อมชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อรองรับการดำเนินการศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น สมัยก่อนประวัติศาสตร์แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

3

ผู้บริหารมีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามที่มอบหมาย รวมทั้งสามารถสื่อสารแผนและผลการดำเนินงานของสถาบันไปยังบุคลากรในสถาบัน

ผู้บริหารมีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามที่มอบหมาย โดยมีการประชุมคณะกรรมการบริหาร และบุคลากรในสำนัก รวมถึงผู้เกี่ยวข้อง (สวธ. 7.1-8) โดยมีการสื่อสารแผนและผลการดำเนินงานของสำนักฯ ไปยังบุคลากรทั้งภายในและภายนอกสำนักฯ ด้วยการรายงานผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 2555 รอบ 6 เดือน และ 12 เดือน (สวธ. 7.1-9) รวมถึงใช้สื่ออื่นๆ เพื่อสื่อสารไปยังบุคลากรอย่างหลากหลาย เช่น จดหมายข่าว และเว็บไซต์ของสำนักฯ (สวธ. 7.1-10)

สวธ. 7.1-8

 

สวธ. 7.1-9

 

สวธ. 7.1-10

รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556
รายงานผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 2555 รอบ 6 เดือน และ 12 เดือน
จดหมายข่าว และ เว็บไซต์สำนักฯ

4

ผู้บริหารสนับสนุนให้บุคลากรในสถาบันมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ให้อำนาจในการตัดสินใจแก่บุคลากรตามความเหมาะสม

มีการมอบหมายภาระงานให้แก่บุคลากร และให้บุคลกรมีโอกาสร่วมตัดสินใจและกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานอย่างเหมาะสมโดยให้กำหนดภาระงานของบุคลากรในสำนัก (สวธ. 7.1-11) และเปิดโอกาสให้บุคลากรได้แสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ ในการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเปิดกว้าง (สวธ. 7.1-12)

สวธ. 7.1-11

สวธ. 7.1-12

ภาระงานของบุคลากรในสำนัก

รายงานการประชุมบุคลากรสำนักฯ ครั้งที่ 9/2554 วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

5

ผู้บริหารถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมพัฒนาผู้ร่วมงานเพื่อให้สามารถทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันเต็มตามศักยภาพ

สำนักฯ มีการประชุมอย่างต่อเนื่องทั้งก่อนและหลังการดำเนินกิจกรรมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน และสรุป ประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาแก้ไขปัญหาอุปสรรค์ในการดำเนินงานต่างๆ ด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และก่อให้เกิดคู่มือการปฏิบัติงาน สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2555 เพื่อเป็นแนวทางและแนวปฏิบัติที่ดีให้กับบุคลากร และสร้างความเข้าใจกันระหว่างการดำเนินงาน (สวธ. 7.1-13) และมีการส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานให้มากยิ่งขึ้น (สวธ. 7.1-14)

สวธ. 7.1-13

 

สวธ. 7.1-14

คู่มือการปฏิบัติงาน สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2555

รายงานการไปราชการของบุคลากร : ประชุมเสวนาสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรม

6

ผู้บริหารบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลโดยคำนึงประโยชน์ของสถาบันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้บริหารสำนักฯ มีการบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ประกอบด้วย

  1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law) ผู้บริหารมีการดำเนินงานตามกรอบของกฎหมาย ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนตาม พรบ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 (สวธ. 7.1-3)
  2. หลักคุณธรรม (Morality) ผู้บริหารใช้หลักคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารสำนักฯ โดยพยายามปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในการทำงานภายใต้หลักคุณธรรม โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมจริยธรรมและจรรยาบรรณประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้ความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมให้กับบุคลากรของสำนักฯ (สวธ. 7.1-15)
  3. หลักความโปร่งใส (Accountability) ผู้บริหารมีการดำเนินงานอย่างโปร่งใส มีแผนการบริหารงบประมาณที่ชัดเจน ตอบสนองต่อพันธกิจ บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักฯ (สวธ. 7.1-16)
  4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทุกมิติ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการประเมินผล

(สวธ. 7.1-17)

  1. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) ผู้บริหารมีความรับผิดชอบในการบริหารจัดการสำนักฯ ตามบทบาทความรับผิดของสำนักฯ อย่างครบถ้วน (สวธ. 7.1-18)
  2. หลักความคุ้มค่า (Cost-effectiveness or Economy) ผู้บริหารมีการวางแผนการใช้ทรัพยากร ตลอดจนมีแผนการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า (สวธ. 7.1-5) โดยเฉพาะเรื่องการดำเนินงาน และการประเมินผลการดำเนินงาน โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกภาคส่วนได้ประเมินตนเอง เกี่ยวกับการดำเนินงาน อย่างเป็นระบบ (สวธ. 7.1-18)

 

สวธ. 7.1-3

 

สวธ. 7.1-15

 

สวธ. 7.1-16

 

สวธ. 7.1-17

 

สวธ. 7.1-18

สวธ. 7.1-5

 

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 พระราชกฤษฎีกา มาตรา 41, 42 และ 43
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมจริยธรรมและจรรยาบรรณประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม

รายงานผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 2555 รอบ 6 เดือน และ 12 เดือน

รายงานการประชุมสำนักศิลปะและวัฒนธรรม วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 : เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน
รายงานประเมินตนเอง กรรมการบริหารสำนักฯและภาระงานของพนักงาน
รายงานการประชุมสำนักศิลปะและวัฒนธรรม วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 : ระแบบวาระที่ 1.2 ให้บุคลากรในสำนักฯ ประหยัดพลังงาน

 

 

7

สภาสถาบันประเมินผลการบริหารงานของสถาบันและผู้บริหารนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริหารงานอย่างเป็นรูปธรรม

สำนักฯ มีการประเมินผลการดำเนินงานไปปรับปรุงการบริหารงานอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในส่วนของการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ (สวธ. 7.1-19) ตลอดจนการประเมินผลงานหรือผลการดำเนินงานของผู้บริหารสำนักฯ (สวธ. 7.1-20)
โดยมีการประชุมสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรได้นำเสนอปัญหา และร่วมหาแนวทางการดำเนินงานเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการดำเนินงานในครั้งต่อไป (สวธ. 7.1-21)

สวธ. 7.1-19

สวธ. 7.1-20
สวธ. 7.1-21

รายงานผลการปฏิบัติงานสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ปี 2555
รายงานการประเมินตนเองของบุคลากร และผู้บริหารสำนักฯ
รายงานการประชุมวันที่14  ธันวาคม พ.ศ.2556 (การประเมินตนเองเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพในปีถัดไป )

 

รายละเอียดผลการดำเนินงาน

 

รายละเอียดผลการดำเนินงาน

จุดแข็ง

  1.   สำนักศิลปะและวัฒนธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนและมีการประเมินตนเองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดล่วงหน้า
  2.   ผู้บริหารสำนักฯ มีวิสัยทัศน์ มีการกำหนดทิศทางการดำเนินงาน และสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ มีความสามารถในการวางแผนกลยุทธ์ มีการนำข้อมูลสารสนเทศเป็นฐานในการปฏิบัติงานและพัฒนาสถาบันการดำเนินงานของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมฯ มีประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อคนในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
  3.   ผู้บริหารสำนักฯ มีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามที่มอบหมาย รวมทั้งสามารถสื่อสารแผนและผลการดำเนินงานของสถาบันไปยังบุคลากรในสถาบัน
  4.   ผู้บริหารสำนักฯ สนับสนุนและเปิดโอกาสให้บุคลากรในสถาบันมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ให้อำนาจในการตัดสินใจแก่บุคลากรตามความเหมาะสม
  5.   ผู้บริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรมฯ มีทักษะในการถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมพัฒนาผู้ร่วมงานเพื่อให้สามารถทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันเต็มตามศักยภาพ
  6.   ผู้บริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรมฯ ยึดหลักการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลโดยคำนึงประโยชน์ของสถาบันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  7.   สำนักฯ มีการประเมินผลการบริหารงานของสำนักฯ และผู้บริหารนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริหารงานอย่างเป็นรูปธรรม

แนวทางเสริม
ในการดำเนินงานจริงของสำนักฯ ผู้บริหารได้มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินงานด้วยหลักธรรมาภิบาล ซึ่งในบางครั้งวัดการดำเนินงานออกมาให้เป็นรูปธรรมได้ยาก ตั้งอาศัยการกำหนดเครื่องมือ และตัวชี้วัดที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

จุดอ่อน
-

แนวทางแก้ไข
-

 

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
340 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
โทร 044-253097, 044-242158 ต่อ 1216 โทรสาร 044-244739