เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2567 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ให้การบริการห้องโรงละครเล็ก (10.21) แก่สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในการจัดสัมมนาหัวข้อ “การบริหารและพัฒนาวงโยธวาทิตไปสู่ระดับนานาชาติ”

.
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ : นายธวัชชัย หาญกิจจานุรักษ์ ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารและพัฒนาวงโยธวาทิต มุ่งพัฒนาทักษะของนักดนตรี ครู อาจารย์ และผู้สนใจ สู่ระดับมาตรฐานสากล บรรยากาศเต็มไปด้วยความตั้งใจ ผู้เข้าร่วมสัมมนาต่างได้รับความรู้ แนวทาง และเทคนิคการบริหารและพัฒนาวงโยธวาทิต นำไปต่อยอดและพัฒนาศักยภาพของตนเอง

   

"2 สำนัก" ร่วมตัดสิน "รำวงย้อนยุค" สืบสานประเพณีไทย มหาสงกรานต์โคราช 2567
.
วันที่ 13 เมษายน 2567 นายชุตินันท์ ทองคำ รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และคุณกอบแก้ว บุญกลาง รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับเชิญให้เป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดรำวงย้อนยุค เนื่องในงานมหาสงกรานต์โคราช ประจำปี 2567 ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
.
งานมหาสงกรานต์โคราช 2567 จัดขึ้นโดยเทศบาลนครนครราชสีมา ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา เพื่อสืบสานประเพณีไทยอันดีงาม ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น และกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว โดยภายในงานมีกิจกรรมมากมาย และที่ขาดไม่ได้คือการประกวดรำวงย้อนยุค ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก มีทีมเข้าร่วมประกวดจากหน่วยงานและชุมชนต่างๆ ทั้งสิ้น 10 ทีม
.
บรรยากาศภายในงาน เต็มไปด้วยความคึกคัก สนุกสนาน ผู้เข้าร่วมงานต่างร่วมร้อง ร่วมเต้นไปกับบทเพลงพื้นบ้านที่ไพเราะ จึงนับได้ว่าการประกวดรำวงย้อนยุคในครั้งนี้ เป็นการสืบสานประเพณีไทยอันดีงาม ส่งเสริมให้เกิดการออกกำลังกายผ่านกิจกรรมนันทนาการอย่างการรำวง นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรม และกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวอีกด้วย

 

สำนักศิลป์ฯ ร่วมตัดสินขบวนแห่พระประจำวัดเกิด "บุญเดือน 5 มหาสงกรานต์ มทร.อีสานบ้านเฮา"
.
เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 นายชุตินันท์ ทองคำ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาแหล่งเรียนรู้ฯ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม นางสาวกอบแก้ว บุญกลาง รองผู้อำนวยการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารเทศ และอาจารย์ชมชนก ธนาวีราภรณ์ สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ ได้รับเชิญเป็นคณะกรรมการตัดสินขบวนแห่พระประจำวัดเกิด ในงาน "บุญเดือน ๕ มหาสงกรานต์ มทร.อีสานบ้านเฮา" จัดโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
.
งาน "บุญเดือน ๕ มหาสงกรานต์ มทร.อีสานบ้านเฮา" เป็นการสืบสานประเพณีไทย เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ โดยภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือการประกวดขบวนแห่พระประจำวัดเกิด ซึ่งแต่ละคณะ/หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยได้ร่วมจัดขบวนแห่ด้วยความสวยงาม สร้างความประทับใจแก่ผู้เข้าร่วมงาน
.
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม รู้สึกยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ประเพณีไทย และขอแสดงความยินดีกับหน่วยงานที่ได้รับรางวัล รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ที่ได้ร่วมจัดงานในครั้งนี้
.
ขอบคุณภาพจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

นักเรียนชั้น ป.1 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองผ่านพิพิธภัณฑ์นครราชสีมา
.
เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 27 คน เข้าร่วมกิจกรรมเสริมประสบการณ์ภาคฤดูร้อน 2567 ภายใต้โครงการ “เรียนรู้ผ่านแหล่งเรียนรู้ : พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา” ณ พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา
.
โดยนักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณวัตถุของเมืองนครราชสีมา โดยนักเรียนได้ พิพิธภัณฑ์ 7 โซน ได้แก่ ห้องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ห้องสมัยทวารวดี ห้องสมัยลพบุรี ห้องสมัยอยุธยา ห้องสมัยรัตนโกสิน ห้องสมัยมหานครแห่งโคราช และห้องของดีโคราช
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ภาคฤดูร้อน 2567 เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ กิจกรรมในครั้งนี้ นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณวัตถุของเมืองนครราชสีมา ซึ่งจะเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่า และช่วยให้นักเรียนเข้าใจรากเหง้าของตนเอง และเกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่น

ผู้อำนวยการสำนักศิลปะฯ ร่วมเป็นคณะกรรมการผลงานนาฏศิลป์นิพนธ์ (Thesis) ม.ราชภัฏนครราชสีมา
.
วันที่ 8 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรขา อินทรกำแหง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้รับเชิญให้เป็นคณะกรรมการ โครงการการแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การแสดงนาฏศิลป์นิพนธ์ ประจำปีการศึกษา 2566 ภายใต้โครงการ “นาฏศิลป์นิพนธ์” โดยหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ณ โคราชฮอลล์ เซ็นทรัลโคราช