Close
ข้อมูลแหล่งศิลปกรรม

Previous     1   2   3   4       Next

ข้อมูลของแหล่งศิลปกรรม

ภาพประกอบ

ลำดับที่ 1
รายละเอียดภาพ : ประตูชุมพลสภาพปัจจุบันเป็นเสมือสถานที่ท่องเที่ยวของเมืองโคราช ที่อยู่หลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ประตูชุมพลสร้างด้วยอิฐก้อนใหญ่เป็นรูปเชิงเทิน ด้านบนเป็นหอรบสร้างด้วยไม้แก่นมีการทาสีใหม่ หลังคามุงกระเบื

ชื่อแหล่ง

ประตูชุมพล

ประเภทแหล่งเรียนรู้

แหล่งศิลปกรรม


ตำบล ในเมือง อำเภอ เมือง จังหวัด นครราชสีมา
หมายเหตุ : -

ประตูชุมพลสภาพปัจจุบันเป็นเสมือสถานที่ท่องเที่ยวของเมืองโคราช ที่อยู่หลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ประตูชุมพลสร้างด้วยอิฐก้อนใหญ่เป็นรูปเชิงเทิน ด้านบนเป็นหอรบสร้างด้วยไม้แก่นมีการทาสีใหม่ หลังคามุงกระเบื้องช่อฟ้าใบระกาได้ปรับปรุงเป็นปูนปั้นแทนไม้ กำแพงก่อด้วยอิฐทั้งสองข้าง คงเหลือกำแพงใบเสมาไว้ข้างละ ๑๐ใบเสมา มีการสร้างบันได้สำหรับให้ขึ้นไปบนหอรบ ได้เปิดให้ประชาชนขึ้นไปชมในงานประเพณีแห่เทียนพรรษาในปี ๒๕๕๗ ที่ผ่านมามีการล้อมรั้วรอบประตูเพื่อป้องกันการเข้าไปบุกรุก มีการประดับด้วยต้นไม้และหญ้า ในช่วงเวลากลางคืนมีการประดับไฟเพื่อความสวยงาม มีป้ายชื่อแขวนทั้งสองฝั่งของประตูว่า “ประตูชุมพล”
ประตูชุมพลเป็นประตูเมืองทางทิศตะวันตกของเขตเมืองเก่า เป็นประตูเมืองเพียงแห่งเดียว ในบรรดาประตูเมืองทั้งหมด ๔ ประตูของเมืองนครราชสีมา ที่ยังคงสภาพเดิมอยู่พร้อมกำแพงเมืองเก่า ซุ้มประตูก่อด้วยอิฐก้อนใหญ่แล้วต่อเป็นกำแพงออกไปทั้ง ๒ ข้าง เหนือกำแพงตรงช่องประตู มีเรือนไทยหลังเล็กๆอยู่หลังหนึ่ง ทำด้วยไม้แก่น เรียกว่า “หอรบ” หลังคามุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา กำแพงที่ต่อออกไปทั้ง ๒ ข้าง ส่วนบนทำเป็นรูปใบเสมาเหลือเพียง ๑๐ ใบเสมา ชื่อประตู "ชุมพล" นั้นหมายความถึง ที่ชุมนุมพลส่วนใหญ่ เป็นประตูสำหรับเตรียมไพร่พล และออกศึก เนื่องจากมีภูมิประเทศเปิดกว้าง ไม่มีป้อมปราการตามธรรมชาติเหมือนประตูอื่น ๆ ในอดีตมีความเชื่อว่า เมื่อลอดผ่านประตูชุมพลไปทำศึกแล้ว จะแคล้วคลาดได้กลับบ้านเมือง ทางกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐ และ กำแพงเมืองโคราช ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ปัจจุบันบริเวณประตูชุมพลและอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีถูกผนวกรวมกันโดยมีสถานะเป็นลานคนเมือง มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อยู่เสมอ เป็นย่านธุรกิจที่สำคัญของจังหวัดนครราชสีมา
Previous     1   2   3   4       Next

ร่วมอนุรักษ์

" แหล่งศิลปกรรมท้องถิ่น "

ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม จังหวัดนครราชสีมา (นครชัยบุรินทร์)
โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สนับสนุนงบประมาณการศึกษาค้นคว้าโดย

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม